วันเสาร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2551

+ แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ +



แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือเดิม แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) เป็นการรวมตัวกันขององค์กรต้านรัฐประหารหลายองค์กร อาทิ
กลุ่มพีทีวี
แนวร่วมประชาชนต้านรัฐประหาร (นปตร.)
นางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ อดีตส.ว.กรุงเทพฯ
นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ผู้ประสานงานพันธมิตรสหภาพแรงงานประชาธิปไตย
รวมถึงมีนักวิชาการ อาทิ รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มธ., ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มธ. เข้าร่วมการประชุม
ทั้งนี้ ทางกลุ่มมีความพยายามที่จะใช้แนวทางสันติวิธี แสวงจุดร่วมสงวนจุดต่าง โดยแต่ละองค์กรที่มาเข้าร่วมนั้นมีจุดยืนและเป้าหมายที่แตกต่างกัน บางส่วนต่อต้านรัฐประหารและต้องการทวงคืนประชาธิปไตย บางส่วนเรียกร้องให้ พตท. ทักษิณ กลับมาเป็นนายกฯและทวงคืนอำนาจรัฐ น้ำหนักที่ประเมินต่อ พตท. ทักษิณ อาจจะแตกต่างกัน แต่จุดร่วมเดียวกันคือต้องการเรียกร้องประชาธิปไตย และสิทธิเสรีภาพของประชาชนกลับคืนมา
แกนนำในกลุ่มนี้ถูกแจ้งความ และจำคุกใน กรณีที่ไปชุมนุมแสดงความไม่เห็นด้วยในการแทรกแซงการเมืองของ ประธานองค์มนตรี โดยมีหลักฐานที่อ้างอิง คือ รูปที่ได้ เผยแพร่ออกมาเมื่อวันที่ 19 กันยา พศ. 2549 ทำให้ ทางกลุ่มเชื่อกันว่า มีประฐานองค์มนตรีอยู่เบื้องหลังการปฏิวัติรัฐประหาร นำไปสู่การชุมนุมที่หน้าบ้านสี่เสา
ในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2550 หลังการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 นปก. ได้เปลี่ยนชื่อกลุ่มเป็น แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)
อย่างไรก็ตาม เริ่มเกิดประเด็นขัดแย้งเกี่ยวกับแนวคิดเบื้องหลังและแนวทางการเคลื่อนไหวของกลุ่ม ว่าเป็นการเคลื่อนไหวเพื่อการสนับสนุนพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร หรือเพื่อการส่งเสริมประชาธิปไตย หรือการต่อต้านรัฐประหาร โดยเฉพาะในประเด็นการต่อต้านระบอบการปกครองปัจจุบัน แนวทางการเคลื่อนไหวและแนวคิดของกลุ่มจึงยังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง

ไม่มีความคิดเห็น: